ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

ความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรมไทย

ความสำคัญของการสืบทอดวัฒนธรรม

     วัฒนธรรมไทยเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทั้งยังเป็นเครื่องวัดความเจริญ หรือความเสื่อม
ของสังคม  ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศ เพราะประเทศจะเจริญหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการ พัฒนา
ของคนในสังคม จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวถึงการพัฒนาประเทศให้ เจริญ
ก้าวหน้านั้น  สังคมต้องมีดุลยภาพ จากการพัฒนาคนในสังคม ปรากฏผลได้ดังนี้

     1. เป็นสังคมคุณภาพ หมายถึง สังคมไทยต้องพัฒนาคนในสังคมทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ ทักษะมีการ
ดำเนินชีวิตที่ดี โดยยึดหลักความพึงพอเพียง ความพอดี และสามารถพึ่งตัวเองได้
     2. เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและกาเรียนรู้ โดยคนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตให้เป็นคนคิดเป็น 
ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เป็นผู้มีเหตุผล ร่วมใจกันพัฒนาภูมิปัญญาไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรม
ประเพณีในท้องถิ่น
     3. เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยต้องปลูกฝังให้คนไทยเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยม
ที่ถูกต้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความรู้รัก รู้สามัคคี ภูมิใจในความเป็นไทย รักษาสถาบันที่สำคัญของสังคมไทย
สืบต่อไป
     ด้วยเหตุดังกล่าวเบื้องต้น การสืบทอดวัฒนธรรมไทย จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคน
และสังคมไทยอยู่หลายประการดังนี้
     1. ทำให้มองเห็นวิถีความเป็นไทย ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม การปกครอง
ที่สังคมสืบทอดกันมา
    2. ทำให้คนไทยเป็นผู้มีความรับผิดชอบ รู้จักรักษาระเบียบวินัย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
รู้จักพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นการเสริมสร้างในการปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม เหมาะสมกับ สภาพของสังคมไทยสืบไป
    3. ทำให้คนไทยทั้งชุมชนเมืองและชุมชนเมืองและชุมชนชนบท เกิดความร่วมมือร่วมใจ ส่งเสริม
ขนบธรรมเนียมที่ดีงาม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชาติเป็นที่รู้จักของชาวโลก
     4. ทำให้เกิดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นการสืบทอดเอกลักษณ์ไทย เพื่อให้
คงอยู่ในสังคมสืบต่อไป
          
 การธำรงรักษาวัฒนธรรมไทย

      วัฒนธรรม เป็นสิ่งมีคุณค่าที่ควรธำรงรักษาไว้เป็นมรดกสืบไป จึงเป็นหน้าที่ขององค์กร หลักของประเทศ
และคนไทยทุกคนที่ต้องส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ ซึ่งมีแนวทางดังนี้
       1. การสั่งสมวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ โดยประพฤติ ปฏิบัติวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ทั้งศิลปะ 
วรรณกรรม ประเพณีต่าง ๆ คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนา มารยาทไทย  ศีลธรรมจรรยาต่าง ๆ เพื่อ
ธำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติ และมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
       2. การถ่ายทอด สืบสานวัฒนธรรม  โดยการเรียนรู้จากบรรพบุรุษ ครอบครัว ผู้ใหญ่ หรือบุคคลอื่น 
ซึ่งเป็นงานทางวัฒนธรรมประเพณีที่สั่งสมไว้ และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามนำมาปฏิบัติ ถ่ายทอด อาจออกมา
ในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตั้งชมรมวัฒนธรรมในซึ่งเป็นงานทางวัฒนธรรมประเพณีที่สั่งสมไว้
และเห็น
ว่าเป็นสิ่งที่ดีงามนำมาปฏิบัติ ถ่ายทอด อาจออกมาในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา แผ่นพับ วิทยุ 
และโทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมสืบไป
       3. การปรับปรุงและเผยแพรางานทางวัฒนธรรมไทย โดยสร้างความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยสื่อต่าง ๆ 
โดยเน้นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกัน หรืออาจขอความร่วมมือจากศิลปิน เพลงสร้างสรรค์เนื้อเพลงและ
ร่วม ร้องเพลงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย โดยสอดแทรกปรัชญาและวิธีการดำเนินชีวิตแบบไทย ชี้นำให้คนไทย
เลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงาม และปฏิเสธวัฒนธรรมอื่น ที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทย เพื่อเอกลักษณ์
ประจำชาติ ให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจในวัฒนธรรมไทย      
        4. รัฐบาลต้องสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์อบรมให้ความรู้
เสนอข่าว ประชาสัมพันธ์ ฟื้นฟู เผยแพร่วัฒนธรรมไทยเพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จัก 
         การที่ประเทศชาติเจริญก้าวหน้านั้น ขึ้นอยู่กับทระพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ และการดำรงไว้ซึ่งความ
เป็นชาติือการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หลอมให้
คนในชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นชาติที่จะดำรงอยู่ได้นั้นจึงต้องมีเอกลักษณ์ และสิ่งสำคัญก็คือเอกลักษณ์ของความเป็นชาตินั้นเอง

การสืบทอดวัฒนธรรม 
          
การพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรมไทย เป้นกระบวนการที่สำคัญยิ่ง ที่จะดำรงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามสืบไป 
การเรียนรู้และฝึกตนเองให้เห็นคุณค่าจึงเป็นวิธีการที่ดี และควรทำตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการปลูกจิตสำนึก 
โดยสถาบันที่สำคัญของชาติต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะัเป็นในลักษณะการอบรมสั่งสอน หรือการปฏิบัติ
เป็นแบบอย่างที่ดีก็ตาม

การสืบทอดวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ
         1. การปลูกฝังค่านิยมที่ดี ซึ่งต้องเริ่มที่พ่อ - แม่ ควรเป็นตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีของ
สังคม 
         2. การจัดวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังและสั่ังสม
ความรู้ ประสบการณ์ตั้วแต่เด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการศึกษ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่
กระทรวงศึกษา และภาคเอกชน ได้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ 
         3.การสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอย่างจริงจัง โดยประสานงานกับหน่วยงานของจังหวัดหรือ
ท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยจัดงานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จัก 
        4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยใช้การท่องเที่ยว เช่นโครงการ 
Unseen Thailand เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ เป็นต้น 
     
   5. การจัดงานเที่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าไทย เป้นงานเกี่ยวกับ OTOP (One Tambol One Product)
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภันฑ์ มีการสาธิตเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีไทย เรื่องของอาชีพ การแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ 
อาจจัดงานใหญ่ เช่น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ หรือหน่วยงานของเอกชน 
        6. การเสนอข่าวประกาศเกียรติคุณบุคคลที่ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป เช่น แม่ดีเด่น ลูกกตัญญู หรือผู้ที่มีผลงานหรืออนุรักษ์ผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
ผู้อนุรักษ์หุ่นละครโรงเล็ก ผู้ประดิษฐดนตรีไทยอาจใช้วัสดุสมัยใหม่ 
       
7. การส่งเสริมให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้แขนงต่าง ๆ เช่นวัด หรือพระสงฆ์ เป็นต้น
มีส่วนในการช่วยปลูกฝังส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการเทศน์ การอบรม การเรียนการสอน
ในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
การทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม สืบสานพระพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
        เนื่องจากแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ เริ่มขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ดังนั้น เพื่อเป้นการปูพื้นฐานให้เข้าใจ ก่อนจะนำไปสู่แผนพัฒนาเศรษฐิกจ
และสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนาในหัวข้อต่อไป ในที่นี้จะนำวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ
มาเสนอต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ. 2545 - 2549)
  วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ 
       1. เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงารทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และสนองตามรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2545-2549)  
       2. เพื่อส่งเสริม ประสานงาน บูรณาการในเรื่องของการดำเนินงานด้านศษสนา ศิลปวัฒนธรรม ในหน่วยงาน
ของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่น ๆ เช่นท้องถิ่น ชุมชน เป้นต้น 
       3. เพื่อระดมทรัพยากร บูรณาการ การดำเนินงานเกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 
       4. เพื่อความสมานฉันท์ ความเสมอถาค เสริมสร้างศักดิ์ศรี มีสันติสุขแก่ครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศ
และสังคมโลก

กรอบแนวคิดแผนวัฒนธรรมแห่งชาติที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 ฉบับที่ 9 (2545-2549 ) สรุปได้ดังนี้
        1. ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
        2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือยึดทางสายกลาง อยู่บนพื้นฐานของความพอดี รู้จักพอประมาณ
อย่างมีเหตุผล
        3. มีความรู้เท่าทันโลก เป็นแนวทางดำเนินชีวิต
        4. มุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยังยืน มีความอยู่ดีมีสุข
        5. มุ่งเน้นการบูรณาการ ยืด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
        6. การพัฒนาเน้น “ดุลภาพ” ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และ สิ่งแวดล้อม 
        7. เพื่อให้คนไทยมีควาสุขถ้วนหน้า รู้จักพึ่งตนเอง รู้ทันโลก และรักษาเอกลักษณ์ ความเป็นไทย
        สำหรับกรอบแนวคิดวัฒนธรรมที่สัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ 
ฉบับที่ 9 มีดังนี้       
        
1. พัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่ คุณธรรม
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        2. พัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมที่เข้มแข็ง คือ
           -  สังคมคุณภาพ
           -  สังคมแห่งการเรียนรู้
           -  สังคมแห่งความสมานฉันท์ มุ่งให้คนไทย เก่ง ดี มีสุข 
        เป้าหมายในการพัฒนางานด้านวัฒนธรรม เมื่อสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ
         1. คนไทยได้รับการบริการทางด้านวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง และทุกคนมีส่วนร่วมในการ รักษา พัฒนา 
และร่วมกันสร้างสรรค์วัฒนธรรม ให้ตะหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรม
        2. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนางานด้านวัฒนธรรม ร่วมกันสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ เผยแพร่ ความรู้ ผสมผสาน
กับภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
        3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในวิถีชีวิตแบบไทย เพื่อให้อยู่ร่วมกัน
ได้อย่างสันติสุข มีความรับผิดชอบ
         ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทาง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือ
ที่ใช้เครื่องยนต์แทน ทำให้การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาการเดินทางให้หลากหลาย
วิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้น 
ยุทธศาสตร์วัฒนธรรมกับการพัฒนา
        เป็นแนวทางในการส่งเสริม ทั้งด้านแนวความคิด และแนวทางในการปฏิบัติ เป็นดังนี้
        1. เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
            ต้องเข้าใจคำว่าวัฒนธรรม ความสำคัญของวัฒนธรรม และผลของการพัฒนาวัฒนธรรม
ว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เมื่อเกิดความเข้าใจและการยอมรับ ก็เกิดการปฏิบัติที่มาจาก
ความเต็มใจ และมีความสุขที่จะทำ เช่น
            1.1 มีการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น
            1.2 ส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และคุรค่า
            1.3 เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล อาจสร้างในรูปแบบสื่อประเภทต่าง ๆ เช่นเอกสาร ข่าวทางวิทยุ
            1.4 มีการประชุมสัมมนาใหญ่ ควรจัดทุกภาค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
        2. สนับสนุนเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น
            โดยให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ โดยท้องถิ่นสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบ
        3. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว 
        
            เพราะปัจจุบัน พ่อ – แม่ ต้องออกทำงานนอกบ้าน ความใกล้ชิดกับลูกและสมาชิกใน ครอบครัวน้อยลง
จึงควรมีกิจกรรมให้เห็นความสำคัญในการพัฒนาตนเองและสังคม ส่งเสริมคุณธรรม
       4. ส่งเสริมองค์กรชุมชน และปรับกระบวนการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม
           ผู้ปฏิบัติที่ดีจะทำให้สังคมมีความเข้มแข็ง การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นเรื่อง
ของการปฏิบัติ เกิดมีความซึบซับซาบซึ้ง ซึ่งมาจากภายใน เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ สามารถ ทำได้อัตโนมัติ 
ไม่ต้องเปิดตำรา แต่เป็นชีวิตจริง การศึกษาเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดการสัมผัสกับวัฒนธรรม
การจัดงานทาง
วัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยเชิญผู้ปกครอง ชุมชนเข้าร่วมงาน
วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการปฏิบัติไม่ใช้การท่องจำ

      5. วัฒนธรรมกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
          วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  โดยเริ่มจากชุมชน  โดยการส่งเสริมจาก
ภาครัฐ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน การกระจายรายได้การรักษาสภาพแวดล้อมการเข้าใจแผนพัฒนา
เศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เป็นเรื่องของภาครัฐ ที่ต้องส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมให้เกิดการ ปฏิบัติ
เป็นสิ่งสืบทอดจนกลายเป็น วัฒนธรรมของชุมชน เช่นรู้จักคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”  ปฏิบัติได้ถูกต้อง
โดยไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักพึ่งตนเอง ทำอย่างไรให้มีกินมีใช้ตลอดไปไม่เป็นหนี้สิน สอนลูกหลานให้เป็นมรดก
ทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งสืบไป ไม่ใช่เป็นแฟชั่นหรือไฟไหม้ฟาง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อการพัฒนา
      การวางแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ครั้งแรกเริ่มภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยนาบปรีดี พนนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ได้วางเค้าโครงทางเศรษฐกิจ
แต่แผนนี้ไม่เป็นที่ยอมรับเพราะเน้นการพัฒฯาเศรษฐกิจไทยไปในแนวทางคอมมิวนิสต์
      ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2593 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสภาเศรษฐกแห่งชาติขึ้นเพื่อวิเคราะห์
ภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงให้คำปรึกษา แต่พบว่าการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่งเมื่อ 
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นธำรงต่ำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาใน พ.ศ. 2502 รัฐบาลได้จัดตั้งสภาพัฒนา
การทางเศรษฐกิจแห่งชาติพร้อมทั้งมีการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20
ตุลาคม 2503 

สรุปความสำคัญของแผนพัฒนาฯ แต่ละฉบับ 
       จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ถึงปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 10 แบ่งออกเป็น 2 ระยะสรุปได้ดังนี้ 
       ฉบับที่1 พ.ศ. 2504 - 2509 ระยะเวลา 6 ปี เน้นการพัฒนาสาธารณูปโภคขัั้นพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า ปะปา 
เขื่อน การศึกษา ฯลฯ แต่พัฒนาล่าช้าเพราะขาดเงินทุนและบุคลากรประชากรเพิ่มสูงขึ้น 
       ฉบับที่2. พ.ศ. 2510 - 2514 ระยะเวลา 5 ปี เป็นการเน้นพัฒนาเช่นเดียวกับแผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 คือ
การสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 
       ฉบับที่3 พ.ศ. 2515 - 2519 เระยะเวลา 5 ปี เน้นการพัฒนาเช่นเดียวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 และ 2 
รวมถึงเริ่มมีการวางแผน ครอบครัวขึ้นเป็นครั้งแรก 
      ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 - 2524 ระยะเวลา 5 ปี เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจตกต่ำ มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม
โดยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพราะความเจริญไปกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร 
      ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 - 2529 ระยะเวลา 5 ปี เน้นปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและเชิงกระจายความเจริญ
ไปสู่ภูมิภาค 
      ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530 - 2534 ระยะเวลา 5 ปี การพัฒฯาโดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้
ในกระบวนการผลิต ปัญหาที่ตามมาคือความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและการทรัพยากรฟุ่มเฟื่อย 
      ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535 - 2539 ระยะเวลา 5 ปี เน้นการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับที่ 6 
      ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 - 2544 ระยะเวลา 5 ปี เน้นทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตของคนไทย พัฒนา
มนุษย์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กระจายรายได้สู่ภูมิภาคและรักษาการเพิ่ม
ของจำนวนประชากรให้เหมาะสม 
      ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 ระยะเวลา 5 ปี เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
และพื้นฟูเศรษฐกิจ
      ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2555 ระยะเวลา 5 ปี เน้นเรื่องของวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่มีผลต่อ
วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นสำคัญ 
       จะเห็นว่า แผนพัฒนาทุกแผนมีความเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของประชาชน ในปัจจุบันอยู่ในช่วงของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 
        เป็นฉบับที่กล่าวถึงสังคมที่มีความสุขอย่างยังยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุลของทุนทางเศรษฐกิจ
ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นสายกลางความสมดุลและความยั่งยืน
ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล รู้ทันโลกตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพคน โดยการขับเคื่อนยุทธศาสตร์สู่การ
ปฏิบัตินั้นแนวทาก็คือ การเสริมสร้างธรรมภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน โดยฌฉพาะที่เกี่ยวกับ
วิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรม ดังนี้ 

        วัตถุประสงค์ 
        1. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้ห้คนไทยและสังคมไทยสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่ากัน
        2. เพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของชุมชนของสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
        3. เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานการพึ่งตนเองมีภูมิคุ้มกันที่ดี
และมีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็่นธรรม 
        4. เพื่อความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นรากฐานที่มั่นคงในการดำรงชีวิต
ของสังคม 
        5. เพื่่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศทุกระดับเพื่อสร้างการอยู่
ร่วมกันอย่างสันติสุข           
        เป้าหมาย
         โดยการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดังนี้ 
         1. พัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างกำลังคนที่มีทักษะพื้นฐานในการดำเนินงาน พัฒนาต่อ
องค์ความรู้จากวัฒนธรรม และภูมิปัญญาทองถิ่น เพ่อนำประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน 
         2. ลดปัญหาความยากจนเพื่อเพิ่มชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง
         3. เพิ่มประสิทธิภาพภาคราชการ เพื่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
พัฒนาประเทศ สร้างธรรมาภิบาลในองค์กรภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้น
ในทุกภาคส่วนของสังคมไทย 

          ยุทธศาสตร์การพันฒนา ที่สำคัญดังนี้ 
          1. พัฒนาให้มีคุณภาพและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยการเตรียมเด็กและ
เยาวชนให้พร้อมถึงแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ วัฒฯธรรมภุมิปัญญา มีความปลอดภัยในการดดำรงชีวิต เกิดความ
สงบมีสิทธิความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันใรสังคม 
          2. การพัฒนาบนรากฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร และ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการสร้าง
องค์ความรู้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 
         3. การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาวัฒนธรรม 
ประชาธิปไตยเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักการเมืองเพื่อส่งเสริมการเมืองที่โปร่งใสสุจริตและชอบธรรม

 การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย
การจาราจรแออัด
การแต่งกายตามตะวันตก
อาหารแบบตะวันตก
ภาพตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีผลต่อวัฒนธรรม

        ประเทศไทยต้องเผชิยกับการเปลี่ยนแปลงของโลกหลายด้าน ซึ่งมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและ
ข้อจำกัดต่อการพัฒนาทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก 
ซึ่งแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 
          1. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด  
           ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ
และสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานร่วมกับ
จุดแข็งในสังคมไทย สร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่า ทั้งการ
บริหารจัดการลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์
ที่เป็นธรรมกับชุมชน 
         2. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม 
           ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยการขยายตลาดสิ้นค้าเพื่อ
สุขภาพ การให้บริการด้านอาหารสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน สถานที่ถ่องเที่ยวและการพักผ่อน
ระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงนับเป็นโอกาสในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการเป็นการอนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมได้ประการหนึ่ง
        3. การเลื่อนไหลของวัฒฯธรรมต่างชาติที่เป็นปัญหาของสังคมไทย 
           สังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติค่านิยมที่เป็นผลกระทบจาการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรมต่างชาติเข้า
สู่ประเทศทั้งสื่อเทคโนโลยีที่ขาดการคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดีงามทำให้คุณธรรมและจริยธรรมของ
คนไทยลดลง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน นำไปสู่ค่านิยมและพฤติกรรมที่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยมเพิ่ม
มากขึ้น 
         4. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา 
         ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการตจัดการความรู้มีมากขึ้น จาการกระจายอำนาจโดยภาครัฐ ในการ
พัฒนาศีกยภาพของผู้นำชุมชน ขณะที่ในด้านวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังถูกละเลย
และมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่น้อย ทั้งระบบคุณค่าของสังคมไทยในเรื่องจิตสาธารณะ ความเอื้ออาทรและการ
ช่วยเหลือกันและกัน เริ่มเสื่อมถอย แม้จะมีความสะดวกมากขึ้นแต่กลับมีความสุขน้อยลง 
        5. ธรรมาภิบาลกับสังคมไทย 
          สังคมไทยเปิดโฮกาสให้ประชาชนตื่นตัวในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการตรวจสอบภาครัเพิ่มขึ้น
แต่เนื่องจาการบริหารจัดการประเทศมีขนาดใหญ่ซับซ้อน การตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก อาจนำ
ไปสู่ความขัดแย้งมีผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพื้นฐานความเชื่อ วัฒนธรรม
และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" 
        ภายใต้ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ควรดำเนินการตามพันธกิจของการพัฒนาปรปะเทศ เพื่อสังคม
เป็นสุข ดงนี้        
         1. พัฒนาคนให้มีคุรภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่ากัน คือ การมีสุขภาวะที่ดีมีครอบครัวที่อบอุ่น 
ชุมชนที่เข้มแข็ง มีความมันคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพที่หลากหลายทางวัฒนธรรม
ทางทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         2. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชื่อมโยง บทบาทครอบครัว 
สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวต 
         3. เสริมสร้างธรรมาภิบาลควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกลและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรม
ประชาธิปไตย ให้เกิดผลในการปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
         ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกที่รวดเร็วและซับซ้อน จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง
ของโครงสร้างระบบต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพ มีการพัฒนาที่เป็นธรรม สร้างความเข้มแข็งในชุมชน
ฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคถุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สมบรูณ์มั่ันคงเพื่อเป็นรากฐานการดำรงชีวิต
ของชุมชนและ สังคมไทยพัฒนาได้หลายประการดังนี้ 
             1. ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดองค์กรความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น 
และ องค์ความรู้สมัยใหม่ 
            2. พัฒนาระบบสุขภาพ บริดภคอาหารที่ปลอดภัยไร้มลพิษ ลดเลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ 
            3. สร้างโอกาสบนพื้นฐานของความยุติธรรม ส้างความยุติธรรม สร้างจิตสำนึกด้านหน้าที่พลเมือง
ให้เห็นคุณค่า ของการอยู่ร่วมกันโดยลดความขัดแย้ง 
            4. สร้างความมั่นคง โดยการสนับสนุนกลุ่มอาชีพในรูปสหกรณ์ โดยการนำภูมิปัญญา และวัฒนธรรม
ท้องถิ่น มาใช้ในการสร้างอาชีพแก้ไขปัญหาความยากจน 
            การปลูกจิตสำนึก ค่านิยมวัฒนธรรมประชาชนในทุกระดับ ทุกส่วนภาคทุกสถาบัน เปิดโอกาสให้ภาค
ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ดำเนินการรับผิดชอบและตรวจสอบในกระบวนการบริหารจัดการ
ประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
            คนเกิดวันพฤหัสบดี ชอบศึกษาหาความรู้ เฉลียวฉลาด มีเมตตา โอบอ้อมอารี
            คนเกิดวันศุกร์ เป็นคนรักสงบ รักหมู่คณะ ชอบความรื่นเริง ความสวยงาม รักศิลปะ
            คนเกิดวันเสาร์ เ็นคนอดทน รักสันโดษ ช่างสังเกต ระมัดระวัง เป็นต้น

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น